วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

คีตกวีแห่งวงการดนตรีไทย

          เนื่องจากบุคคลที่มีีความสำคัญต่อวงการดนตรีไทยมีหลายท่านด้วยกัน ดังนั้นในบทความนี้ผมจะกล่าวถึงบุคคลที่มีคความสำคัญต่อวงการดนตรีไทยเพียง 3 ท่านนะครับ(ไม่ได้หมายความว่าทั้ง3ท่านนี้มีความสำคัญมากที่สุดนะครับ)

************************************************************************************


พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก)

          คีตกวีในสมัยรัชกาลที่ 3 ถึง รัชกาลที่ 5 เป็นคีตกวีคนแรกที่นำเพลง 2 ชั้น มาทำเป็นเพลงสามชั้น มีความสามารถในการแต่งเพลง และฝีมือในทางเป่าปี่ เป็นเยี่ยม โดยเฉพาะเพลงเด่นที่สุดคือ "ทยอยเดี่ยว" บ้างเรียกท่านว่า "เจ้าแห่งเพลงทยอย" ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีเทคนิคการบรรเลงและลีลาที่พิสดาร โดยเฉพาะลูกล้อ ลูกขัดต่างๆ อีกเพลงหนึ่งคือเพลง "เชิดจีน" เป็นเพลงที่ให้อารมณ์สนุกสนาน มีลูกล้อลูกขัด ที่แปลกและพิสดาร ท่านแต่งบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งได้รับการโปรดปรานมาก จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระประดิษฐ์ไพะเราะ" บทเพลงจากการประพันธ์ของท่านคือ เพลงจีนแส อาเฮีย แป๊ะ ชมสวนสวรรค์ การะเวกเล็ก แขกบรเทศ แขกมอญ ขวัญเมือง เทพรัญจวน พระยาโศก จีนขิมเล็ก เชิดในสามชั้น (เดี่ยว) ฯลฯ


************************************************************************************


หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)




เป็นบุตรครูสิน ศิลปบรรเลง ซึ่งเป็นศิษย์ของพระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นคนจังหวัด สมุทรสงคราม มีฝีมือในการตีระนาดที่หาตัวจับยาก จึงมีชื่อเสียงโด่งดัง ครั้นได้ตีระนาดถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์ ก็ได้รับรางวัลมากมาย และได้ประทานตำแหน่งเป็น "จางวางมหาดเล็กในพระองค์" คนทั่วไปจึงเรียกว่า "จางวางศร"  นอกจากระนาดแล้ว ท่านยังสามารถบรรเลงปี่ได้ดี และสามารถคิดหาวิธีเป่าปี่ให้ เสียงสูงขึ้นกว่าเดิมได้อีก 2 เสียง ในด้านการแต่งเพลง ท่านสามารถแต่งเพลงได้เร็ว และมีลูกเล่นแพรวพราว แม้ในการประกวดการประดิษฐ์ทางรับ คือการนำเพลงที่ไม่เคยรู้จักมาร้องให้ ปี่พาทย์รับ ท่านก็สามารถนำวงรอดได้ทุกครา
ผลงานเด่นๆ ของท่านมีมากมาย ได้แก่
-
ประดิษฐ์วิธีบรรเลงดนตรี "ทางกรอ" ขึ้นใหม่ในเพลง"เขมรเรียบพระนครสามชั้น"    เป็นผลให้ได้รับพระราชทานเหรียญรุจิทอง ร.5 และ ร.6
-
ต้นตำรับเพลงทางเปลี่ยน คือ เพลงเดียวกันแต่บรรเลงไม่ซ้ำกันในแต่ละเที่ยว
-
พระอาจารย์สอนดนตรีแด่พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนทรงมีพระปรีชาสามารถ  พระราชนิพนธ์เพลงได้เอง คือเพลง "คลื่นกระทบฝั่งโหมโรง"   "เขมรละออองค์เถา" และ "ราตรีประดับดาวเถา"
-
คิดโน๊ตตัวเลขสำหรับเครื่องดนตรีไทยซึ่งได้ใช้มาจนทุกวันนี้
-
นำเครื่องดนตรีชวาคือ "อังกะลุง" เข้ามาและได้แก้ไขจนเป็นแบบไทย
-
สอนดนตรีไทยในพระราชสำนักเมืองกัมพูชา และได้นำเพลงเขมรมาทำเป็น   เพลงไทยหลายเพลง
-
ตันตำรับการแต่งเพลงและบรรเลงเพลง 4 ชั้น
ท่านเป็นคีตกวีในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ซึ่งนับว่าเป็นดวงประทีปทาง ดนตรีไทย ที่ใหญ่ที่สุดในยุคที่ดนตรีไทยเฟื่องฟูที่สุดด้วย



************************************************************************************





พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)



           "ครูแปลก" เกิดที่หลังวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ เป็นศิษย์คนหนึ่งของครูช้อย สุนทรวาทิน ท่านเคยได้บรรเลงเดี่ยวขลุ่ยถวายต่อหน้า สมเด็จพระนางเจ้าวิคทอเรียที่พิพิธภัณฑ์เมืองริมบลีย์ จนถึงกับถูกขอให้ไปเป่าถวายในพระราชวังบัคกิงแฮมต่อด้วย
          ครูแปลกเป็นคนติดเหล้าอย่างหนัก แต่ไม่เคยเมาต่อหน้าศิษย์ ได้เป็นครูสอนวงเครื่องสายหญิงของเจ้าดารารัศมี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ครั้งแรกเป็นขุนประสานดุริยศัพท์ จนได้เป็นพระยาประสานดุริยศัพท์ใน พ.ศ. 2458 ท่านเคยเป่าปี่เพลงทยอยเดี่ยวในพระประดิษฐ์ไพเราะฟัง ถึงกับได้รับคำชมว่า "เก่งไม่มีใครสู้" 
นอกจากท่านจะเชี่ยวชาญปี่และขลุ่ยแล้ว ยังเก่งพวกเครื่องหนังด้วย ขนาดสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานณุพัธุวงศ์วรเดชตรัสชมว่า "ไม่ใช่คนนี่.. ไอ้นี่มันเป็นเทวดา" ท่านเป็นอาจารย์ของศิษย์ชั้นครูมากมาย เช่นพระเพลงไพเราะ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ พระยาภูมิเสวิน อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นต้น

          ผลงานเพลงที่สำคัญได้แก่ เพลงเขมรปากท่อเถา เขมรราชบุรีสามชั้น ธรณีร้องไห้สามชั้น (ธรณีกันแสง) พม่าห้าท่อนสามชั้น วิเวกเวหาสามชั้น แขกเชิญเจ้าสองชั้น
  


************************************************************************************      
อ้างอิงข้อมูลจาก : http://mitethai.tripod.com/artist.htm

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

วงดนตรีไทย


           วงดนตรีไทยที่บรรเลงเป็นระเบียบแบบแผนมาแต่โบราณ จนถึงปัจจุบันแบ่งโดยสังเขปมีอยู่ 3 ประเภท 1.วงปี่พาทย์ 2.วงเครื่องสาย 3.วงมโหรี   
           หากแบ่งโดยพิสดารจะมี 7 ปะเภท คือ 1.วงบรรเลงพิณ, 2.วงขับไม้, 3.วงปี่พาทย์, 4.วงมโหรี, 5.วงเครื่องสาย, 6.วงปี่กลองมลายูและวงปี่กลองแขก 7.วงเบตล็ดอื่นๆ เช่น วงแคน วงกลองยาววงแตรวงวงฮังกะลุงและวงดนตรีพื้นเมืองอีกมากมาย.
           วงพิเศษ คือวงที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ ในงานสำคัญ ใชับรรเลงในงานนั้นเพียงครั้งเดียว มี 1 วง คือ วงมหาดุริยางค์
          ความสำคัญและลักษณะของวงดนตรีแต่ละประเภทมีดังนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          วงปี่พาทย์ 
          
          หมายถึง วงที่เกิดจากการประสมวงกันระหว่างเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีหลายรูปแบบดังนี้
          1. วงปี่พาทย์ชาตรี ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียก " ปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา " เพราะมีน้ำหนักเบา ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรีต่อมาจึงเรียกชื่อตามละคร ใช้เครื่องดนตรี ดังนี้ ปี่นอก ฆ้องคู่ กลองชาตรี โทนชาตรี ฉิ่ง

          2. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็วงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตีนิยมบรรเลงทั่วไป
เช่นบรรเลงดนตรีล้วนๆ หรือประกอบการขับร้อง มี 3 ขนาด ดังนี้

          2.1 วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด


          2.2 วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ ปี่นอก ปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง

          2.3 วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง
           3. วงปี่พาทย์ไม้นวม เป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตี เครื่องดนตรี ที่ใช้ ขลุ่ยเพียงออ ซออู้ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ กลองตะโพน ตะโพน ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ( ระนาด ใช้ไม้นวมตี)

           4. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงปรับปรุงขึ้น ใช้ประกอบละครดึกบรรพ์ ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ตะโพนกลอง ตะโพน กลองแขก ฆ้องหุ่ย 7 ใบ

           5. วงปี่พาทย์มอญ เดิมเป็นของมอญ ใช้ทั้งงานมงคลและอวมงคล แต่ปัจจุบันจะใช้บรรเลงเฉพาะงานศพเท่านั้น มีขนาดต่างกันดังนี้.
          5.1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ระนาดเอก ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง

          5.2 วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ

          5.3 วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ


          6. วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นวงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลง ใน งานศพเท่านั้น เครื่องดนตรีที่ใช้ ปี่ชวา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองมลายู ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วงเครื่องสาย
วงเครื่องสาย หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก โดยมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า
และกำกับจังหวะประกอบ มีหลายขนาด ดังนี้

1.วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย จะเข้ ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉาบเล็ก ฉิ่ง

2. วงเครื่องสายเครื่องคู่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 คัน ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ขลุ่ยเพียงออ โทน กรับ รำมะนา ฉาบเล็ก ฉิ่ง โหม่ง

3.วงเครื่องสายผสม คือ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายแบบธรรมดา และนำเครื่องดนตรีอื่นมาผสม เช่น "วงเครื่องสายขิม" จะนำขิมมาบรรเลงร่วม


4.วงเครื่องสายปี่ชวา คือ ปรับปรุงมาจาก " วงกลองแขกเครื่องใหญ่ " ใช้ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ปี่ อ้อ ปี่ชวา
กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ ต่อมาเปลี่ยนขลุ่ยหลิบมาแทนปี่อ้อ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น " เครื่องสายปี่ชวา "

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วงมโหรี
          วงมโหรี เป็นวงที่เกิดจากการผสมกัน ระหว่างวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย ตัดเครื่องดนตรีทีมีเสียงดังออก ย่อขนาดเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์
ให้มีขนาดเล็กลงและเพิ่มซอสามสาย วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า แบ่งตามขนาด ดังนี้
          1.วงมโหรีวงเล็ก ประกอบด้วย ระนาดเอกมโหรี ฆ้องวงใหญ่มโหรี จะเข้ ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง


          2. วงมโหรีเครื่องคู่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ซอสามสาย ซอสามสายหลีบ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง


3. วงมโหรีเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ซอสามสาย 2 คัน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง

ยังมีวงมโหรี ที่ประยุกต์ให้ขนาดของวงมีความเหมาะสมกับงาน ดังรูปภาพต่อไปนี้








** นอกจากนี้ ยังมีวงพิเศษในสมัย ร. 9 ของเรา ได้เกิดวงมหาดุริยางค์ขึ้น ในงานครบรอบ 100 ปี ของหลวงประดิษฐ์ ไพเราะ( ศร ศิลปะบรรเลง )
ใช้ผู้บรรเลงถึง 600 คนเศษ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบ่งโดยพิศดาร
1.วงบรรเลงพิณ เป็นการบรรเลงเดี่ยว พิณน้ำเต้า
2.วงขับไม้บรรเลงโดยใช้ ซอสามสายและบัณเฑาะว์ 
3.วงปี่กลองมลายูและวงปี่กลองแขกมี 3 วง
-วงปี่กลองมลายู(กลองสี่ปี่หนึ่ง)มี่ ปี่ชวา 1 เลา, กลองมลายู 4 ลูก, เหม่ง
-วงบัวลอย มีปี่ชวา 1 เลา, กลองมลายู 2 ลูก, เหม่ง 
-วงปี่กลองแขก (ปี่ชวากลองแขก) มีปี่ชวา 1 เลา, กลองแขก 1 คู่, ฆ้องโหม่ง(ภายหลังเปลี่ยนเป็นฉิ่ง) 
4.วงดนตรีเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
-วงแคนแบ่งเป็น แคนเดี่ยว, แคนวง
  1.แคนเดี่ยว ใช้แคน 1 ดวง
  2.แคนวง มี 3 ขนาด
    2.1แคนวงเล็ก ใช้แคนขาดใหญ่ 2 ดวง , ขนาดกลาง 2 ดวง, ขนาดเล็ก 2 เล็ก (รวมแคน 6 ดวง )
    2.2แคนวงกลาง แบ่งย่อยเป็นแคน 8 ดวง และแคน 10 ดวง
-แคน 8ดวง ใช้แคนขาดใหญ่ 2 ดวง , ขนาดกลาง 3 ดวง, ขนาดเล็ก 3 เล็ก
-แคน 10 ดวง ใช้แคนขาดใหญ่ 4 ดวง , ขนาดกลาง 4 ดวง, ขนาดเล็ก 2 เล็ก หรือ (ใช้แคนขาดใหญ่2ดวง,      ขนาดกลาง 4 ดวง, ขนาดเล็ก 4 เล็ก)
    2.3แคนวงใหญ่ ใช้แคนขาดใหญ่ 4 ดวง , ขนาดกลาง 4 ดวง, ขนาดเล็ก 4 เล็ก(รวมแคน 12 ดวง )
  3.วงลำตัด เป็นการละเล่นของภาคกลาง มี รำมะนา กรับ ฉิ่ง บรรเลง สลับการร้อง 
  4.วงกลองสบัดชัย เป็นการแสดง พื้นเมืองภาค มีตำนานมากจากการตีก่อนออกรบ ยกทัพ จับศึก เพื่อให้เกิดความหึกเหิม มี กลองสบัดชัย ฉาบหลวง โหม่ง

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงข้อมูล :http://www.sadetmusic.com/music/thaiband.html
**ส่วนวีดีโอจะอัพมาให้รับชมกันในภายหลัง

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีประเภทสี

หมายถึงเครื่องดนตรีประเภทหนึ่งที่มีสาย ทำให้เกิดเสียงได้โดยการใช้สี เครื่องดนตรีประเภทนี้ในวงการดนตรีไทยได้แก่
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ซอด้วง 

      เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีที่มี 2 สาย ซึ่งเดิมเป็นเครื่องดนตรีของจีน ร่วมบรรเลงในวงเครื่องสายเมื่อราวต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หรือถ้าก่อนนั้นก็คงราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พร้อมกันกับซออู้ มีหน้าที่เป็นผู้ทำทำนองเพลง สีเก็บถี่ๆบ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง เป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง และเป็นผู้นำวง ด้วยเหตุที่เรียก "ซอด้วง" ก็เพราะว่ากะโหลกซอนั้น มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ด้วงดักแย้" ส่วนประกอบของซอด้วงมีดังนี้
• กะโหลกทำด้วยไม้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกลำตัวมีกระพุ้งเล็กน้อย ตอนปลายผายภายในเจาะแต่เป็นโพรง ใกล้หน้าขึ้นหนังจะเจาะรู 2 รูเพื่อสอดใส่ไม้คันทวน
• หน้าซอ ขึ้นด้วยหนังงูเหลือมหนังลูกแพะ หรือหนังลูกวัว
• คันทวน ทำด้วยไม้มีส่วนประกอบดังนี้
• เดือย เป็นส่วนล่างสุดกลึงให้เล็กเพื่อสอดใส่เข้าไปในรูกะโหลกตอนบนทะลุออกตอนล่างเล็กน้อย
• เท้าช้าง กลึงลักษณะกลมเพื่อยึดติดกะโหลกซอตอนบน
• ลูกแก้ว กลึงเป็นวงกลมรอบไม้ต่อจากเท้าช้าง
• เส้นลวด กลึงเป็นวงเส้นนูนเล็กๆห่างจากลูกแก้วขึ้นมาเล็กน้อย
• บัวกลึงบากให้เป็นเหลี่ยมเพื่อให้รับกับโขนซอ
• โขนซอที่ปลายคันทวน จะกลึงเป็นทรงสี่เหลี่ยมโค้งไปทางหลังเล็กน้อย เรียกว่า"โขนซอ"และที่โขนซอเจาะรู๒รูเพื่อสอดใส่ลูกบิด
• ลูกบิด ทำด้วยไม้กลึงหัวใหญ่มีลักษณะ เป็นลูกแก้ว ก้านบัวประดับเม็ด ปลายกลมเรียวแหลม เพื่อสอดใส่ในรูลูกบิด ตอนปลายสุดจะบากเป็นช่องเล็กสำหรับพันผูกสายซอบิดลดเร่งเสียง
• สายใช้สายไหมทั้ง 2 เส้นๆหนึ่งเป็นสายเอก อีกเส้นหนึ่งเป็นสายทุ้ม ต่อมาใช้สายเอ็นผูกที่เดือนใต้กะโหลกผ่าน "หย่อง" ซึ่งทำด้วยไม้เล็ก เพื่อหนุนสายให้ลอยตัวผ่านหนังหน้าซอไปยังลูกบิดและไปพันผูกที่ปลายลูกบิดทั้งสอง ก่อนถึงลูกบิดบริเวณใกล้บัว ใช้เชือกรัดสายให้ตึงห่างจากคันทวนพอประมาณเรียกว่า "รัดอก"
• คันชัก ทำด้วยไม้กลึงกลมโค้งเล็กน้อย ตอนหัวและหางกลึงเป็นลูกแก้ว ตอนล่างจะกลึงไม้นูนกลมออกมาจากคันซอเล็กน้อย เพื่อคล้องหางม้า สำหรับตอนบนเจาะรูเพื่อสอดใส่หางม้าที่มีจำนวนหลายๆเส้น โดยขมวดไว้ที่ปลายคันซอ โดยปกติคันชักของซอด้วงและซออู้จะอยู่ในระหว่างสายเอกกับสายทุ้มเพื่อให้สวยงามนิยมแกะสลักฝังมุขเป็นลวดลายต่างๆสวยงาม บางคันทำด้วยงาทั้งคัน ตลอดจนกะโหลกหรือลูกบิดก็เป็นงาด้วย

หลักการสีซอด้วง
      ผู้สีนั่งท่าพับเพียบ ลำตัวตรง มือซ้ายจับคันทวน ให้ฝ่ามือหันเข้าหาลำตัว ไม่หักหรืองอข้อมืออยู่ใต้รัดอก คันทวนอยู่ชิดง่ามนิ้ว ระหว่างนิ้วหัวมือกับนิ้วชี้นิ้วหัวแม่มืออยู่ในท่าประคองคันทวน กระบอกซอวางอยู่ประมาณกึ่งกางของหน้าขาซ้าย คันทวนอยู่ในแนวตั้ง แขนซ้ายอยู่ในท่างอข้อศอกห่างจากลำตัวพองาม มือขวาหงายมือจับคันทวนแบบสามหยิบ ให้คันชักขนานพื้น วิธีจับแบบสมาหยิบ คือ มือขวาจับคันชักห่างจากหมุดตรึงหางม้าในช่วงไม่เกินหนึ่งฝ่ามือ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้และนิ้วนางจับก้านคันชัก และให้นิ้วหัวแม่มือวางอยู่บนคันชักนิ้วชี้และนิ้วกลางรองรับอยู่ด้านล่าง ส่วนนิ้วนางสอดเข้าไปในระหว่างก้านคันชักกับกับหางม้า โดยเรียงลำดับให้สวยงาม แขนขวาไม่หนีบหรือกางข้อศอกจนเกินงาม

วิธีสีซอด้วงมีดังนี้
1.สีไล่เสียงด้วยการกดสายทีละนิ้วยกเว้นนิ้วก้อย
2. สีไล่เสียง โดยใช้นิ้วก้อย 9 เสียง
3.เก็บคือการสีด้วยพยางค์ถี่ๆโดยตลอดเป็นทำนองเพลง
4.สีสะบัดคือการสีที่มีพยางค์ถี่และเร็วโดยมากเป็น3พยางค์
5.สีนิ้วพรมเปิดคือสีกดนิ้วลงที่สายในลักษณะแตะขึ้นแตะลงช้า
6.สีนิ้วพรมปิดคือสีกดนิ้วลงที่สายในลักษณะแตะขึ้นแตะลงถี่ๆ
7.สีนิ้วประคือการสีสายเปล่าใช้กลางนิ้วของนิ้วกลางแตะขึ้นลงที่สาย
8.สีครั่นคือการใช้นิ้วกดยืนเสียงตามด้วยนิ้วกลางและใช้นิ้วกลางเลื่อนขึ้นเลื่อนลง
9. สีสะอึก คือการสีให้เสียงขาดเป็นตอนๆ
10.สีรัวคือการใช้ส่วนปลายของคันชักสีออกสีเข้าสลับกันด้วยพยางค์ถี่ๆและเร็วที่สุด
11. สีดำเนินทำนองเพลงเป็นทางของจะเข้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ซออู้ 

      เป็นเครื่องสีอีกประเภทหนึ่งที่เป็นคู่มากับซอด้วง เข้าใจว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ชนชาติจีนเล่นมาก่อน มารวมเล่นเป็นวงเครื่องสายในระยะเดียวกับซอด้วง มีหน้าที่สีดำเนินทำนองเพลงในลักษณะหยอกยั่วเย้าไปกับผู้ทำทำนองเพลงบางครั้งใช้สีคลอไปกับร้อง ด้วยภายหลังเมื่อมีวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์และวงปี่พาทย์ไม้นวม จึงได้นำซออู้เข้ามาบรรเลงร่วมด้วย ส่วนประกอบของซออู้มีดังนี้
กะโหลกซอ ทำด้วยกะลามะพร้าว โดยเฉพาะกะลามะพร้าวที่มีลักษณะ กลมรีขนาดใหญ่ นำมาปาดกะลาออกด้านหนึ่ง เพื่อขึงหรือขึ้นหน้าซอ ที่ตัวกะโหลกนั้นขัดเกลาให้เรียบ บางกะโหลกด้านหลังที่เจาะเป็นรู แกะลวดลายต่างๆให้สวยงาม เพื่อใช้เป็นรูระบายเสียงไปในตัว ส่วนตอนบนเจาะรูทะลุตรงกลางเพื่อสอดใส่คันทวน
คันทวน ทำด้วยไม้แก่น กลึงเหลาให้กลมมีลักษณะเรียวยาว โคนเล็ก ปลายขยายใหญ่ขึ้นคันทวน
เดือย กลึงเล็กเรียวยาวพอทะลุกะโหลกด้านล่างเพื่อไว้ผูกสาย
เท้าช้าง กลึงกลมโดยรอบเพื่อยึดกับกะโหลก
ลูกแก้ว กลึงกลมโดยรอบต่อจากเท้าช้าง
เส้นลวด กลึงกลมโดยรอบ โดยห่างจากลูกแก้วเล็กน้อยจากเส้นลวดจะกลึงให้มีขนาดเรียวใหญ่ขึ้นไปจนถึงปลายเรียกว่า"ทวนปลาย" ที่บริเวณทวนปลายจะกลึงเป็นลูกแก้ว 3 ช่วงห่างกันพอประมาณ ระหว่างช่วงลูกแก้ว ทั้งสามเจาะรู 2 รูสำหรับสอดใส่ลูกบิด ปลายสุดของทวนบนจะกลึงคล้ายลูกแก้ว ตรงกลางขอบสุดจะกลึงขีดเป็นเส้นวงกลม สำหรับปลายทวนของซออู้จะเป็นไม้ตัน แต่ทวนบนของซอสามสายจะเป็นโพรงภายใน
ลูกบิด ทำด้วยไม้แก่นกลึงกลมหัวใหญ่ ประกอบลูกแก้ว ปลายเรียวเล็กเพื่อสอดใส่ในรูคัน ทวนตอนปลายสุดเจาะรูเล็กเพื่อผูกพันสายซอ
สายใช้สายไหมหรือสายเอ็น 2 เส้น ผูกที่เดือยใต้กะโหลกขึงผ่าน"หมอน" ซึ่งทำด้วยผ้าพันลักษณะกลมสำหรับหนุนสายให้ผ่านหน้าซอและไปผ่านหมอนไปถึงลูกบิด พันผูกที่ลูกบิดทั้งสอง ก่อนถึงลูกบิดจะใช้เชือกมัดสายทั้งสองกับคันทวนให้ห่างพอประมาณเรียกว่า " รัดอกเพื่อให้เสียงไพเราะยิ่งขึ้น
คันชัก ทำด้วยไม้แก่น เหลากลมยาว มีลักษณะเช่นเดียวกับคันชักซอด้วงและสอดใส่อยู่ในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม เพื่อให้สวยงาม นิยมแกะสลักเป็นลวดลายประดับมุขเป็นลวดลายต่างๆสวยงามบางคันทำด้วยงาทั้งคัน

หลักการสีซออู้
      ผู้สีนั่งท่าพับเพียบ ลำตัวตรง มือซ้ายจับคันทวนให้ฝ่ามือหันเข้าหาลำตัว ไม่หักหรืองอข้อมืออยู่ใต้รัดอก คันทวนอยู่ชิดง่ามนิ้ว ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ นิ้วหัวแม่มืออยู่ในท่าประคองคันทวน กระบอกซอวางอยู่ประมาณกึ่งกางหน้าขาซ้าย คันทวนอยู่ในแนวตั้ง แขนซ้ายอยู่ในท่างอข้อศอกห่างจากลำตัวพองาม มือขวาหงายมือจับคันทวนแบบสามหยิบ ให้คันชักขนานพื้น วิธีจับแบบสามหยิบ คือมือขวาจับคันชักห่างจากหมุดตรึงหางม้าในช่วงไม่เกินหนึ่งฝ่ามือโดยใช้นิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้และนิ้วนางจับก้านคันชัก และให้นิ้วหัวแม่มือวางอยู่บนคันชักนิ้วชี้และนิ้วกลางรองรับอยู่ด้านล่าง ส่วนนิ้วนางสอดเข้าไปในระหว่างก้านคันชักกับหางม้า โดยเรียงลำดับให้สวยงาม แขนขวาไม่หนีบหรือกางข้อศอกจนเกินงาม

วิธีสีซออู้มีดังนี้
1.สีไล่เสียงด้วยการกดสายทีละนิ้วยกเว้นนิ้วก้อย
2. สีไล่เสียง โดยใช้นิ้วก้อย เสียง
3.สีเก็บคือการสีด้วยพยางค์ถี่ๆโดยตลอดเป็นทำนองเพลง
4.สีสะบัดคือการสีที่มีพยางค์ถี่และเร็วโดยมากเป็น3พยางค์
5.สีนิ้วพรมเปดิ คือสีกดนิ้วลงที่สายในลักษณะแตะขึ้นแตะลงช้า
6.สีนิ้วพรมปิดคือสีกดนิ้วลงที่สายในลักษณะแตะขึ้นแตะลงถี่ๆ
7.สีนิ้วประคือการสีสายเปล่าใช้กลางนิ้วของนิ้วกลางแตะขึ้นลงที่สาย
8.สีรัวคือการใช้ส่วนปลายของคันชักสีออกสีเข้าสลับกันด้วยพยางค์ถี่ๆและเร็วที่สุด
9.สีดำเนินทำนองเพลงเป็นทางของจะเข้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ซอสามสาย

      เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีที่เก่ามาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยมีวิธีการประดิษฐ์ลักษณะของซอได้อย่างปราณีต สวยงาม มีเสียงไพเราะนุ่มนวล เดิมใช้เป็นเครื่องประกอบในพระราชพิธีโดยเฉพาะในวงขับไม้ซึ่งใช้บรรเลงขับกล่อมในพระราชพิธี กล่อมพระอู่ หรือพระราชพิธี"สมโภชน์ขึ้นระวางช้างต้น “ ( พิธีกล่อมช้าง ) เป็นต้น ส่วนประกอบของซอสามสายมีดังนี้กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดที่มีลักษณะนูนเป็นกระพุ้งออกมา 3 ปุ่ม คล้ายวงแหวน 3อัน วางอยู่ในรูปสามเหลี่ยมจึงเป็นสามเส้า ผ่ากะลาให้เหลือปุ่มสามเส้า เพื่อใช้เป็นกะโหลกซอ ขึงขึ้นหน้าซอด้วยหนังแพะหรือหนังลูกวัว โดยปิดปากกะลา ขนาดของหน้าซอจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับกะลาที่จะหามาได้ที่กะลา ด้านบนและด้านล่างเจาะรูเพื่อสอดใส่ไม้ยึดคันทวน โดยให้โผล่ตอนบนยาวกว่าตอนล่าง คันทวนทำด้วยไม้แก่นประกบต่อจากกะโหลกซึ่งมี๓
ตอนคือ
- ทวนล่าง ประกอบด้วย " ปากช้างล่าง " บากไม้ภายในให้รับกับตอนล่าง ของกะโหลกถัดจากปากช้างล่างมี " รูร้อยหนวดพราหมณ์ " คือการควั้นเชือกติดกับ เนื้อไม้เพื่อสำหรับผูกพันสายซอ จากนั้นจะกลึงไม้แก่นเป็นวงๆเรียงลำดับลดหลั่นลงมาเรียกว่า " เส้นลวด "ต่อจากนั้นจะกลึงเป็น " ลูกแก้ว " คั่นกลาง แล้วต่อด้วยเส้นลวด ขนาดลดหลั่นเล็กลงไปล่างสุดจะทำเป็นเท้าซอซึ่งทำด้วยโลหะกลึงกลมปลายแหลมเพื่อตรึงยึดกับพื้น ขณะสี ทวนล่างจะสอดเข้าไปในไม้ยึดประกบชิดติดกับกะโหลกซอด้านล่างทวนกลาง กลึงลักษณะกลมยาวภายในโปร่ง เพื่อสอดเข้าไปในไม้ยึด ตอนโคนเรียบ จากนั้นจะกลึงเป็นแหวนเรียงลำดับลดหลั่นขึ้นไปตอนปลายนิยมแกะสลักประกอบมุขหรืองาเป็นลวดลายต่างๆ
- ทวนบน กลึงลักษณะกลมภายในโปร่งเรียวใหญ่ขึ้น มีเส้นลวด 4 เส้นๆที่ -- เจาะรูทะลุ สำหรับสอดใส่ลูกบิด และเจาะรูสำหรับสายซออีกรูหนึ่ง บริเวณใกล้ตอนรอยต่อทวนกลางกับทวนบน ปลายคันทวนเรียกว่า " ลำโพง " จะบานผายออก ปลายสุดจะกลึงเป็นเส้นลวดโดยรอบไว้
ลูกบิด ทำด้วยไม้ กลึงกลมเรียว ตอนหัวกลึงเป็นรูปเม็ด ตอนปลายเรียวเล็กลงเพื่อสอดใส่ในรูคันทวนปลาย ตอนปลายสุดจะบากเป็นช่องไว้สำหรับพันผูกสายซอ
สายซอ ใช้สายไหมหรือสายเอ็นพันผูกกับหนวดพราหมณ์ที่ทวนล่าง ขึงผ่านหน้าซอผาดไว้บน " หย่อง " ซึ่งทำด้วยไม้หรืองา โค้งติดไว้ที่หน้าซอตอนบน เพื่อหนุนสายให้ลอยเหนือคันทวนกลาง
ปลายทวนกลางจะนำเชือกไหมมารัดสายทั้ง 3 เส้นติดไว้กับคันซอหลายรอบเรียกว่า " รัดอก " จากนั้นนำสายไหมทั้ง เส้นจะสอดเข้าไปในรูทวนบนเพื่อไปผูกพันที่ปลายลูกบิด ที่หน้าหนังซอจะใช้รักก้อนเล็กๆประดับด้วยเพชรพลอย สำหรับเป็นเครื่องถ่วงเสียงให้เกิดกังวานดังไพเราะยิ่งขึ้น
คันชัก ทำด้วยไม้กลมยาว ตอนปลายโค้ง ใช้หางม้าหลายเส้นผูกรวมกันจากปลายคันชักมาสู่โคนคันชัก โดยการนำเชือกอีกเส้นหนึ่งมามัดไว้กับโคนคันชัก เพื่อความสวยงาม ที่ปลายหางม้าจะถักหางเปีย ที่โคนคันชักจะดัดไม้โค้งงอเล็กน้อย

หลักการสีซอสามสาย
      นิยมนั่งในท่าพับเพียบ ให้เท้าของซอปักลงตรงหน้าที่นั่ง มือขวาจับคันชักสีเข้า-ออกโดยผ่านสายทั้งสาม ขณะเดียวกันก็ใช้นิ้วของมือข้างซ้ายกดสายให้แนบชิดติดกับคันทวนกลางเพื่อให้เกิดเสียงสูง-ต่ำตามที่ต้องการ และจะใช้อุ้งมือบังคับคันซอหันไปมาเพื่อให้สายสัมผัสกับคันชักซึ่งจะทำให้เกิดเสียง 2 แบบคือ
1. สีดังเป็นเสียงเดียว
2. สีดังเป็นสองเสียงพร้อมกันเป็นเสียงประสานที่ไพเราะอันเป็นลักษณะของซอสามสาย
ต่อมาภายหลังนิยมนำซอสามสายเข้าร่วมบรรเลงกับวงเครื่องดนตรีอื่น เช่น เข้าร่วมบรรเลงในวง
"มโหรี" (คือวงที่มีเครื่องสายกับเครื่องตีในวงปี่พาทย์ผสมกันโดยย่อสัดส่วนเครื่องดนตรีในวงเครื่องตีหรือวงปี่พาทย์ให้เล็กลงทั้งนี้ เพื่อให้เสียงกลมกลืนกับเครื่องสาย) มีหน้าที่บรรเลงคลอไปกับเสียงร้องและบรรเลงไปพร้อมกับเครื่องดนตรีอื่นๆตามทำนองเพลงเมื่อวงมโหรีขยายขนาดของวงใหญ่ขึ้น ซอสามสายจึงมีเพิ่มขึ้นอีกคันหนึ่งแต่มีขนาดเล็กกว่าเรียกว่าซอสามสายหลิบ " บรรเลงคู่กันไปกับซอที่มีอยู่เดิม แต่ไม่มีหน้าที่คลอเสียงไปกับคนร้อง เพียงแต่ช่วยดำเนินทำนอง สอดแทรกแซงในทางเสียงสูง

วิธีสีซอสามสายเพื่อให้เกิดเสียงมีดังนี้
1.การสีสายเปล่าแบบไกวเปลคือการสีที่ใช้มือขวาจับคันชักแบบสามหยิบมือซ้ายกดสายให้เกิดเสียงสูง-ต่ำตามที่ต้องการ ในขณะเดียวกันจะหันหรือพลิกหน้าซอไปมาให้สายรับกับคันชักมีลักษณะเหมือนไกวเปล
2.การสีไล่เสียงคือการสีที่ไล่เสียงไปตามลำดับสูงต่ำ
3.การสีพร้อมกันทั้งสองสายเปล่าให้เกิดเสียงคู่สี่ล่างและคู่สี่บน
4. สีเก็บ คือการสีให้มีพยางค์ถี่ๆโดยตลอด
5.สีนิ้วประคือการใช้นิ้วชี้กดยืนเสียงใดเสียงหนึ่งและใช้นิ้วกลางกดขึ้นลงจะเกิดเสียงห่างๆเท่าๆกัน
6. นิ้วพรม คือการทำเช่นเดียวกับนิ้วประ แต่ยกนิ้วกลางที่กดขึ้นลงให้เกิดเสียงถี่ๆกว่านิ้วประ
7.สีนิ้วแอ้ คือการใช้นิ้วชี้แตะตรงตำแหน่งรัดอกและเลื่อนนิ้วมายังตำแหน่งของเสียงทีหนึ่งพร้อมทั้งสีคันชักออก
8. สีนิ้วครั่น คือการใช้นิ้วชี้กับนิ้วนางเรียงชิดติดกันกดลงบนสายพร้อมทั้งเลื่อนนิ้วขึ้นลงให้เกิดครึ่งเสียงและตามด้วยการพรมนิ้ว
9. การสีดำเนินทำนองเพลงทำให้เกิดเป็นทางเฉพาะของซอสามสาย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สะล้อ 

     เป็นเครื่องสีอีกอย่างหนึ่งนิยมบรรเลงเล่นกันในภาคเหนือของไทยดังมีชื่อเรียกกันว่า "วงสะล้อซอซึง " เดิมเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ไปแอ่วสาว ต่อมาใช้บรรเลงรวมวงกับซึงและปี่จุม เรียกว่า "วงดนตรีพื้นเมืองเหนือ" สามารถบรรเลงเพลงสำเนียงเหนือได้อย่างไพเราะ เช่นเพลงละม้าย จะปุอื่อ ประสาทไหว เพลงเชียงใหม่ฯเป็นต้น เดิมเป็นเครื่องสีที่มี 2 สาย สีด้วยคันชักคล้ายซอด้วงมีวิธีการประดิษฐ์ไม่สู้ปราณีตนัก ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายตามพื้นบ้านต่อมาภายหลังพบว่าได้มีการสร้างสะล้อขึ้นด้วยความปราณีตสวยงามขึ้นและเพิ่มสะล้อขึ้นเป็น 3 ขนาดคือ
1. สะล้อเล็กมี 2 สาย
2. สะล้อกลางมี 2 สายแต่ใหญ่กว่าสะล้อเล็ก
3. สะล้อใหญ่มี 3 สายขนาดใหญ่กว่าสะล้อกลาง
ทั้ง 3 ระดับได้ทำขึ้นอย่างปราณีตโดยคันทวนทำด้วยงา ที่กะโหลกก็ประดับงาบางคันทำ
ด้วยไม้แต่ประกอบด้วยงา ส่วนประกอบของสะล้อมีดังนี้
กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ไม่ใหญ่เหมือนกะโหลกซออู้ ตัดปาดครึ่งลูกสำหรับขึ้น
หน้า ด้านหลังเจาะเป็นช่องระบายเสียงมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ตอนบนเจาะรูทะลุ
ด้านล่างเพื่อสอดใส่ไม้คันซอ
คันทวน ทำด้วยไม้เนื้อแข็งกลึงกลม เรียวยาว ตอนล่างเล็ก ตอนปลายจะขยายใหญ่
ขึ้น ตอนล่างสุดจะสร้างคล้ายกับทวนล่างของซอสามสาย แต่เล็กกว่าคือกลึงเป็นเส้น
ลวดเรียงตามลำดับ มีเท้าซึ่งทำด้วยโลหะแหลมสำหรับปักลงกับพื้น ( บางคันคันไม่ได้ทำ
เท้าเป็นโละ) ช่วงต่อจากกะโหลกจะกลึงเป็นเส้นลวดโดยรอบห่างพอสมควร กลึงเส้นลวด
อีกอันหนึ่ง ส่วนตอนบนกลึงลูกแก้ว 2 ลูก ตรงช่องกลางลูกแก้วเจาะเป็นรู 2 รูทะแยงกัน
สูงต่ำกันเล็กน้อยเพื่อสอดใส่ลูกบิด ที่ปลายสุดของคันซอ ( ทวนปลาย ) จะกลึงเป็นเม็ด
เพื่อความสวยงาม
ลูกบิดทำด้วยไม้กลึงกลมเรียวหัวกลึงเป็นเม็ดปลายเรียวแหลมสำหรับ
สอดใส่ในรูคันซอ
หน้าซอ ทำด้วยไม้แผ่นบางๆปิดหน้ากะลา
สายใช้สายลวด สายผูกกับหลัก ซึ่งทำด้วยไม้หรือโลหะโค้งเล็กน้อย ลากสายผ่าน"
หย่อง " ซึ่งทำด้วยไม้ลักษณะเป็น เหลี่ยมเพื่อหนุนสายให้ลอยตัว จากนั้นลากผ่านคัน
ซอขึ้นไปพันผูกที่ลูกบิดทั้งสอง ก่อนถึงลูกบิดจะใช้หวายมัดให้สายติดกับคับซอเรียกว่า
" รัดอก " การที่ใช้หวายมัดเป็นรัดอกจะทำให้เสียงกังวานและแกร่งขึ้น ในระหว่างรัดอกจะ
มี" จิม " ซึ่งทำด้วยไม้แผ่นบางๆมายัดให้แน่นขณะเลื่อนรัดอก เพื่อหาเสียงที่ไพเราะ
คันชักมีลักษณะเช่นเดียวกับคันชักของซอด้วง พบสะล้อที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความปราณีต
สวยงาม
ที่บ้านของเจ้าสุนทร . เชียงใหม่ครูดนตรีพื้นเมืองของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ท่านได้
สร้างขึ้นให้มีเสียงดังกังวาน โดยการเพิ่มกะลามะพร้าวที่ทำเป็นกะโหลกให้มีลักษณะเป็น
พูเช่นเดียวกับกะโหลกซอสามสายเจาะ ตรงพูให้เป็นรูปหัวใจเพื่อระบายเสียงให้กังวาน
คันทวน ทำด้วยงา โคนทวนกลางกลึงเป็นรูปวงแหวนลดหลั่นตามลำดับปลายทวนกลึง
เป็นลูกแก้วลูกบิดก็กลึงเป็นลูกแก้วประดับเม็ดระหว่างลูกบิดทั้งสามจะกลึงเป็นรูปแหวน
2 วงขนาบลูกบิดไว้ ส่วนสายนั้นใช้สายกีต้าแทน
หลักการสีสะล้อ
เดิมผู้สียืนสี คาดผ้าที่เอวให้ปลายคันทวนปักลงที่ผ้าคาดเอว มือขวาจับคันชักมือซ้ายกด
สายลำตัวสะล้อค่อนไปทางซ้ายมือของผู้ดีด ปัจจุบันผู้ดีดนั่งสีในท่าขัดสมาธิหรือพับเพียง ปัก
ปลายคันทวนลงกับพื้นด้านหน้าทางซ้าย มือขวาจับคันชัก มือซ้ายกดสายเวลาสีจะพลิกตัวสะล้อ
หันไปมาเพื่อรับกับสายคันชัก
วิธีสีและเสียงของสะล้อมีดังนี้
1.การสีสายเปล่า
2.การสีไล่เสียงยาวๆ
3.การสีเก็บ
4.การสีพรม
5.การสีดำเนินทำนองสะล้อ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คุณพระช่วย - เพลง HIP ประชันเพลงซออู้

เดี่ยวซอด้วงนกขมิ้น คว่ำข้าวเม่า

คุณพระช่วย - เพลง HIP ประชันเพลงสะล้อ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แหล่งที่มา : http://www.siammelody.com/thaimusic/ded.htm (ข้อมูล)
                    www.youtube.com (วีดีโอ)